10 เมืองประวัติศาสตร์ชาติไทย

หลายหัวเมืองที่อยู่คู่ประเทศไทยมาช้านาน จนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาความเป็นมาและการดำรงชีวิตในอดีต

ชื่อสถานที่
เกณฑ์การให้คะแนน
ที่ตั้ง อายุเมือง เวลาทำการ ค่าเข้าชม
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี 3,000 ปี 08.00 – 16.30 10 – 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ 1050 ปี 06.00-18.00 20 – 150 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ 1,000 ปี 08.30-16.30 20 – 100 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) นครราชศรีมา 961 ปี 07:30 – 17:00 20 – 100 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย 780 ปี 08.00 – 17.00 10 – 150 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ กาญจนบุรี 761 ปี 09.00-16.30 10 – 50 บาท
อุทยานประวัติศาสร์สุโขทัยหรือเมืองเก่าสุโขทัย สุโขทัย 761 ปี 08.00 – 17.00 10 – 150 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร กำแพงเพชร 700 ปี 08.00 – 17.00 10 – 40 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 668 ปี 8.00 – 18.00 10 – 40 บาท
เขาวัง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เพชรบุรี 159 ปี 08.30-16.30 20 – 40 บาท
Arrow
Arrow
Slider
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทจาก การสำรวจศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อการล่าสัตว์และประกอบพิธีกรรมตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยได้พบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว และการดัดแปลงเพิงหิน/แท่งหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาใน สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นช่วงวัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี และสืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้างตามลำดับ หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีความสำคัญในทางศาสนาสืบเนื่องมา เป็นเวลาช้านาน
ภายในอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้บริการข้อมูลตลอดจนแผนที่ สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๔๒๙๑ ๐๑๐๗ เปิดให้เข้าชมเวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๓๐ น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยวชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๓๐ บาท
ที่ตั้ง อายุเมือง เวลาทำการ ค่าเข้าชม
อุดรธานี  3,000 ปี 08.00 – 16.30 10 – 30 บาท

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

Arrow
Arrow
Slider
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บน เขาพนมรุ้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้งนั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่าภูเขาใหญ่ ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผัง ตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงาน ก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร ปัจจุบันปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหิน พนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์และ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย

 เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้  ได้แก่ โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ ที่อำเภอประโคนชัย ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 044-782715, 0 44-78 2717

ที่ตั้ง อายุเมือง เวลาทำการ ค่าเข้าชม
บุรีรัมย์ 1050 ปี 06.00-18.00 20 – 150 บาท

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

Arrow
Arrow
Slider
พื้นที่ที่มีการตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้น นับเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากยังเป็นพื้นที่ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของมนุษย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทวารวดีและเขมรตามลำดับ ซึ่งรวมระยะเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงกว่า ๘๐๐ ปี ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไปด้วยสาเหตุโรคระบาดร้ายแรงหรือปัญหาภัยแล้งประการใดประการหนึ่งหรือทั้งสองประการ ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันเป็นช่วงก่อนที่วัฒนธรรมสุโขทัยและอยุธยาจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก และมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอย่าง ต่อเนื่องมาจนเท่าถึงปัจจุบัน

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจะเปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ สำหรับค่าธรรมเนียมเข้าชมนั้น ประชาชนชาวไทย คนละ ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ คนละ ๑๐๐ บาท ทั้งนี้ จะยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมให้แก่พระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนาอื่น นักเรียน นิสิตและนักศึกษาในเครื่องแบบนักเรียน นิสิตและนักศึกษารวมทั้งครูอาจารย์ผู้ควบคุมในกรณีขอเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยประสานงานล่วงหน้า และแขกผู้มีเกียรติที่กรมศิลปากรหรืออุทยานประวัติศาสตร์เชิญหรือต้อนรับ

ในกรณีต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยขอวิทยากรนำชม สามารถติดต่อประสานงานได้โดยตรงที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๗๑๗๐ โทรศัพท์ ๐๕๖ –๙๒๑๓๒๒ โทรสาร ๐๕๖ –๙๒๑๓๑๗

ที่ตั้ง อายุเมือง เวลาทำการ ค่าเข้าชม
เพชรบูรณ์ 1,000 ปี 08.30-16.30 20 – 100 บาท

คลิ๊กดูอันดับที่ 4 5 6 7 8 9 10 ที่นี่

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น